วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย

ADDRESS  ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์ ADSL Asymmetric DSL    หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย
ATM  - Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
Backbone  - เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
Bandwidth - แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
Bridge - บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
BROSWER  - โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera
Client  - ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
COMPOSE -  การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email
DIAL UP -  การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์
DNS Domain Name Server -  การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP -  หรือใน internet
DOMAIN -  กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
DOWNLOAD -  การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
DSL -  เป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
EISA -  การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว
E-MAIL Electronic Mail -  จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย
ETHERNET -  อีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T
Extranet - เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
Fast Ethernet - เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX
FDDI -เป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relay -เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล
FTP - ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ
GATEWAY - คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
Gigabit Ethernet - กิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) -  ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย
GUEST BOOK - สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง
HOME PAGE - เอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ
HOST -  คอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ
HTML - ย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต
HTTP -  ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต
Hub - เป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)
IDSL - ย่อมาจาก ISDN digital subscriber line เป็นเทคโนโลยีระบบ DSL ที่ถูกตั้งชื่อตาม ISDN เนื่องจากมีความเร็วการเชื่อมต่อเบื้องต้น (Basic Rate Interface - BRI) เท่ากับ 144 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งเปรียบเสมือนกับ การที่ช่องสัญญาณ B ทั้ง 2 ช่อง และช่องสัญญาณ D ในระบบ ISDN ถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างถาวร ภายในคู่สายสัญญาณเพียงคู่เดียว ระบบ IDSL นี้ใช้การเข้ารหัสสาย แบบ 2B1Q
Internetอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน และสามารถเข้าถึงได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ โดยอาศัย การต่อเชื่อมกับ โมเด็ม หรือเราเตอร์ (Router) และโปรแกรมที่เหมาะสม
Intranet - อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่าย ภายในบริษัทหรือองค์กร ที่ใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือบางอย่าง เหมือนกับที่นิยมใช้อยู่ เป็นจำนวนมาก ในระบบอินเทอร์เน็ต (เช่นใช้บราวเซอร์ สำหรับดูเอกสารต่างๆ หรือ การใช้ภาษา HTML สำหรับเตรียมข้อมูลภายใน หรือประกาศต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น)
IP telephony - ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่รวมเอา การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียงและภาพ เข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่าย ที่ส่งข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (packet) ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่ เหล่านี้ ด้วยการอาศัย การส่งข้อมูลประเภทต่างๆ เหล่านี้รวมกัน บนเส้นทางเชื่อมต่อเดียว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสาขาย่อยต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่าย สำหรับระบบเครือข่าย เสียงและข้อมูล ได้เป็นอย่างมาก
ISDN - ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network เป็นโปรโตคอล สำหรับสื่อสาร ที่ให้บริการ โดยบริษัทโทรศัพท์พื้นฐานต่างๆ สามารถให้บริการ เชื่อมต่อความเร็วสูง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย ในสถานที่ต่างๆ ได้
ISP Internet Service Provider - บริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้แก่ KSC, CS-Loxinfo, Internet Thailand,Samart Connect ,เป็นต้น
JAVASCRIP, JAVA APPLET - เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สำหรับการสร้างและตกแต่งเอกสารบน เวิลด์ ไวล์ เว็บ
LAN  - เป็นคำย่อของ Local Area Network หรือเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งโดยปกติ หมายถึงเครือข่าย หรือกลุ่มของส่วนต่างๆ ของเครือข่าย ที่มีอยู่ ภายในห้องเดียวกัน หรือบริเวณอาคารเดียวกัน เกี่ยวข้องกับระบบ WAN
LOG IN - ขั้นตอนการขออนุญาต เข้าระบบ ปกติจะมี ID และ Password เป็นตัวควบคุม
Modem  -  โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับ ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอื่นๆ โดยอาศัย คู่สาย โทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น โมเด็มจะทำการ "โมดูเลต" สัญญาณดิจิตอล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับสัญญาณแอนาล็อก สำหรับการส่งข้อมูล และทำการ "ดีโมดูเลต" สัญญาณแอนาล็อกเหล่านั้น กลับไปเป็น ข้อมูลดิจิตอล ที่คอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่ง สามารถเข้าใจได้
NEWSGROUPS -  กลุ่มสนทนาทางเครือข่าย หรือทางอินเตอร์เน็ต
Packet - เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีการรับส่งกันอยู่ ภายในเครือข่าย ที่มีการเติม "เฮดเดอร์" ซึ่งเป็นข้อมูล ที่บอกถึงลักษณะ ของข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายใน และปลายทางของ แพ็คเก็ต เราสามารถเปรียบ แพ็คเก็ต ได้กับ "ซองใส่ข้อมูล" โดยที่มีส่วนเฮดเดอร์ เปรียบได้กับที่อยู่นั่นเอง
PCI Peripheral Component Intercnnect - มาตราฐานการเชื่อม หรือ อินเตอร์เฟส แบบใหม่ที่ให้ความเร็วสูงกว่า ISA แล EISA
POP SERVER Post Office Protocol - คือ เซอร์เวอร์ที่ใช้ในการรับส่ง Email
PROTOCOL - มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
PROXY SERVER -  เซอร์เวอร์หรือโฮสต์ ใช้สำหรับเพิ่มความเร็วในการเล่นเน็ต โดยเก็บข้อมูลใน proxy server ทำให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในต่างประเทศอีก
ROUTER - อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้
SCSI Small Computer System Interface - การเชื่อมต่ออุปกรณ์ เพื่อรับ-ส่ง ข้อมูลถึงกัน
SEARCH ENGINE - เครื่องมือช่วยในการค้นหา web site ต่างๆ บน internet เช่น web yahoo , google เป็นต้น
SERVER - คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บข้อมูล
SPAM MAIL Email - ที่ถูกส่งมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ
TCP/IP Transmission Control Protocol/Internet Protocal - เป็นมาตราฐานอย่างหนึ่งในการสื่อสาร ทางด้าานอินเตอร์เน็ต
TELNET -  เครื่องมือในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
TOKEN RING  - มาตราฐานการเชื่อต่อเคเบิล อย่างหนึ่งในระบบเครือข่าย
UPLOAD -  วิธีการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
URL Unique Resource Locator - ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ
WAN Wide Area Network - ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่กว่า LAN สามารถติดต่ไปยังเครือข่ายภายนอกได้ทั่วโลก
WEBMASTE- ชื่อตำแหน่งของผู้ที่สร้าง ดูแล จัดการ web ทั้งนี้อาจหมายถึงเข้าของ web ก็ได้
WORLD WIDE WEB -  WWW หรือ Web ระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูลภายใน web

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย

 1. ส่วนประกอบที่เป็น Hardware

       1.1  Server มีอยู่หลายชนิด ถ้านำเอา PC ทั่วๆ ไปมาใช้จะเรียกว่าFile Server เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในระบบ Network รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
ความเร็วของ CPU และฮาร์ดดิสก์จะมีผลต่อประสิทธิภาพของ
ระบบ Network ดังนั้น ถ้า CPU มีความเร็วสูงเท่าใดประสิทธิภาพของ
ระบบก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกันความเร็วของฮาร์ดดิสก์ หรือ
Access Time หรือเวลาที่ใช้ดึงข้อมูลยิ่งน้อยมากเท่าใดยิ่งดี
หน่วยวัดของCPU มีหน่วยวัดเป็น MHz (เมกกะเฮิร์ตซ์)


    1.2  Workstation ก็คือ PC ทั่วๆ ไปที่นำมาเชื่อมต่อเข้ากับ


ระบบ Network แบ่งออกเป็น Normal Workstation และ
Diskless Workstation
Diskless นี้ เป็น PC ที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์ จะไม่สามารถ
เปิดใช้งานด้วยตนเองได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับเปิด
เครื่องเข้าสู่ระบบ Network เรียกว่าBoot ROM ซึ่งจะติดตั้งไว้
บนอุปกรณ์ที่เรียกว่า Network Interface Card (NIC) หรือ
Network Adapter


       1.3  Network Communication System  หมายถึง ระบบการสื่อสารภายใน Network
 หรือลักษณะการรับ-ส่งข้อมูลตามสาย โดยอาศัยหัวใจหลักคือ
NIC และCable โดยจะมีการเชื่อมต่อ PC แต่ละตัวเข้ากับเครื่อง
Server ด้วยลักษณะการเชื่อมต่อแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละแบบมี
ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่นความยาวของสาย Cable ทั้งระบบ
รวมกัน ความเร็วในการทำงายเป็นต้น


2. ส่วนประกอบที่เป็น Software

   
  Operating System เป็น Software ของระบบมีหลายชนิด เช่น Netware ของ บริษัท Novell Corporation ซึ่งทำหน้าที่ใน
การควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ไม่ว่าจะเป็นความ
ปลอดภัยของระบบ สิทธิในการใช้งานของแต่ละ User การใช้
ทรัพยากรร่วมกัน

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่าย

1.) LAN มีระยะทางระหว่างจุดเชื่อมต่อที่จำกัดขนาดสูงสุดปกติ

ไม่เกิน 10 Km.และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 m.
2.) โดยปกติ MAN ทำแต่ถ้าใช้ Fiber Opticจะทำให้ความเร็ว
เพิ่มขึ้นเป็นหลายร้อย Mbps งานด้วยความเร็ว 1 Mbps แต่ LAN จะมี
ความเร็ว 1-10 Mbps

3.) LAN มีระยะใกล้กว่าทำให้ส่งข้อมูลผิดพลาดน้อยกว่า MAN

4.) LAN จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ WAN จะมีขอบข่ายการใช้งานอยู่ทั่วโลก ดังนั้นการใช้ งานจะขึ้นอยู่กับองค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย LAN กับ WAN


    การเชื่อมต่อระหว่าง LAN ใช้อุปกรณ์ NIC โดยมีสายสัญญาณเป็น

ตัวกลาง แต่ WAN ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ ผ่านสาย Leased Line ,ระบบไมโครเวฟ ,ดาวเทียม ซึ่งอุปกรณ์พิเศษต่างๆที่เชื่อม LAN เข้าด้วยกันจนกลายเป็น WAN เรียกว่า Gateway

2. LAN ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่มี การ์ดเน็ตเวิร์ค , สื่อสัญญาณ,ระบบ
ปฏิบัติการควบคุม ส่วนเครือข่ายWAN ประกอบด้วย ส่วนที่1 อุปกรณ์ที่ใช้
เชื่อมต่อ LAN เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router ส่วนที่2 อุปกรณ์ช่วยในการ
ต่อเข้าสู่ WAN เป็นตัว Gatewayเช่น Modem สำหรับใช้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์
หรือTerminal Adapterสำหรับใช้บริการ ISDN ส่วนที่3 สื่อสัญญาณเช่น
สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ส่วนที่ 4 ส่วนของบริการWAN หมายถึงเครือข่ายผู้
ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกลๆ เช่นองค์การโทรศัพท์

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์

3.1 การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาดทางกายภาพ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ 2. เครือข่ายระดับเมื่อง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
3.2 การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามหน้าที่การทำงานในเครือข่าย
 
    1.ระบบเครือข่ายแบบพึ่งพาเครื่องบริการ (Server Based Networkหรือ Client-Server Network )
    เครือข่ายนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการแบ่งแยกน้าที่ของคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในระบบนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลไฟล์ หรือโปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรให้แก่เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เป็นลูกข่าย เรียกว่า เครื่องไคลเอนด์ (Client) เครือข่ายนี้แบบนี้เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อจำนวนมาก

 
2.ระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมกัน (Peer to Peer Network)
   
   เครือข่ายนี้อาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป (Workgroup)” เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย มีสิทธิในการร้องขอข้อมูลหรือบริการจากเครื่องอื่นๆ ได้เท่าเทียมกันสามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องอื่นๆ ได้โดยไม่มีเครื่องใดเป็นศูนย์กลาง
เครือข่ายนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมต่อไม่เกิน 10 เครื่อง และเนื่องจากทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “เครือข่ายแบบเท่าเทียมกัน”

3.3 การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล

1.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เป็นระบบขนาดใหญ่ สามารถเชื่อมต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ทั่วโลก
 โพรโตคอลที่ใช้ คือ TCP/IP
 การเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องทำการเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า ISP ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
 มีความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ




2.ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการใช้งานจะเหมือนกับอินเตอร์เน็ตแต่เป็นการติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรเท่านั้น ไม่มีการเชื่อมต่อออกไปภายนอกองค์กร

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย


การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง




การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)

    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง




สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) 
  
         การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น


สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability)

        องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น




ความหมายและความสำคัญของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้


ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
ระบบเครือข่าย (Network)
จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

อ้างอิง http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page11.htm

ดาราที่ชื่นชอบ



ณัฐพร เตมีรักษ์
(แต้ว)




ณเดช คูกิคิมิยะ
(แบรี่)






ปริญ สุภารัตน์
(หมาก)







อุษามณี ไวทยานนท์
(ขวัญ)